ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ก่อนปี ค.ศ. 1952 มีภาษาคอมพิวเตอร์เพียงภาษาเดียวเท่านั้นคือ ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สุด เพราะใช้เลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลขฐานสองคือ 0 และ 1 ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเปิด (On) และการปิด (Off) ของสัญญาณไฟฟ้า ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์แทนข้อมูล และคำสั่งต่าง ๆ ทั้งหมด จะเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยประมวลผลที่ใช้ นั่นคือแต่ละเครื่องก็จะมีรูปแบบของคำสั่ง เฉพาะของตนเอง ซึ่งนักคำนวณและนักเขียนโปรแกรมในสมัยก่อน ต้องรู้จักวิธีที่จะรวมตัวเลขเพื่อแทนคำสั่งต่าง ๆ ทำให้การเขียนโปรแกรมยุ่งยากมาก

เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละประเภทจะมีภาษาเครื่องที่เป็นของตนเอง ไม่สามารถนำภาษาเครื่องที่ใช้กับเครื่องประเภทหนึ่ง ไปใช้กับเครื่องประเภทอื่นได้ เนื่องจากแต่ละระบบก็จะมีชุดคำสั่งของภาษาเครื่องที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นลักษณะของภาษาที่มีพัฒนาการนั้นขึ้นอยู่กับเครื่อง (Machine Dependent)

คำสั่งในภาษาเครื่องจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1. โอเปอเรชันโค้ด (Operation Code) เป็นคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ เช่นการบวก (Addition) , การลบ (Substraction) เป็นต้น

2. โอเปอแรนด์ (Operands) เป็นตัวที่ระบุตำแหน่งที่เก็บของข้อมูลที่จะนำเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปปฏิบัติการตามคำสั่งในโอเปอเรชันโค้ด

ตัวอย่างของคำสั่งในภาษาเครื่องจะแสดงได้ดังต่อไปนี้

จากตัวอย่างจะเห็นว่า เพียงคำสั่งเดียวจะประกอบด้วยตัวเลข 0 และ 1มากมาย ถ้าเขียนเป็นโปรแกรมที่บรรจุหลายร้อยคำสั่ง ก็คงจะมี แต่ตัวเลขฐานสองเต็มไปหมด ซึ่งจะเห็นว่ามีความยุ่งยากมากเวลาเขียนโปรแกรม และยังยากแก่การจดจำอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้เขียนโปรแกรมยังต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีด้วย ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบ ของภาษาต่อไป ให้ง่ายต่อการอ่านและเขียนมากขึ้น อันได้แก่ภาษาแอสเซมบลี

Leave a comment